การเกิดภูเขาไฟระเบิดเป็นผลมาจากฝีมือของมนุษย์จริงหรือ ?
The volcanic eruption is the result of human skill true?
จัดทำโดย
1.ด.ญ.
จัลวาตีย์ เจะเลาะ เลขที่ 16
2.ด.ญ.เจะนัสฟู เจะมะ
เลขที่ 17
3.ด.ญ.ซูฮาดา แมเราะ
เลขที่ 19
4.ด.ญ.โซเฟีย อุมา
เลขที่ 20
5.ด.ญ.อัสมาร์ สุยี
เลขที่ 37
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 10
คำนำ
การเกิดภูเขาไฟระเบิดเป็นผลมาจากฝีมือของมนุษย์
จริงหรือ ?
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
is มัธยมศึกษา ปีที่2
ซึ่งได้เรียบเรียงมาจากสถานการณ์ในอดีตเกี่ยวกับ การเกิดภูเขาไฟระเบิดที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ
ซึ่งนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากของเรื่อยๆ ซึ่งการศึกษาเรื่องนี้ทำให้เห็นถึงสาเหตุ
และผลกระทบการเกิดภูเขาไฟระเบิดเป็นผลมาจากฝีมือของมนุษย์
การเกิดภูเขาไฟระเบิดเป็นผลมาจากฝีมือของมนุษย์จริงหรือ
?
บทนำ
ภัยจากภูเขาไฟระเบิดเป็นอีกมหันตภัยหนึ่งที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ภูเขาไฟพบเห็นอยู่ในทุกภูมิภาคของโลกแม้แต่ในประเทศไทยก็มีภูเขาไฟอยู่หลายลูกกระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆ
ภัยจากภูเขาไฟสำหรับคนไทยแล้วอาจจะดูห่างไกลกว่าภัย
ธรรมชาติชนิดอื่น
แต่ถึงกระนั้นเราก็ไม่ควรเพิกเฉยต่อการเปลี่ยนแปลงเสียทีเดียว
นอกจากความน่าสะพรึงกลัวจากภัยภูเขาไฟแล้วภูเขาไฟบางแห่งก็มีทัศนียภาพที่
สวยงามตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คงจะหนีไม่พ้นภูเขาฟูจิที่กลายเป็น
สัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว
แต่ความเปลี่ยนแปลงที่อยู่ลึกลงไปภายใต้แผ่นดินความสวยงามอาจกลายเป็นภัยที่
สามารถเผาผลาญชีวิตมนุษย์
สัตว์ และพืชได้ในพริบตาเดียว
ปี ค.ศ.1815 ภูเขาไฟแทมโบล่า(Tambora) ในประเทศอินโดนีเซียเกิดระเบิดขึ้น
การระเบิดในครั้งนั้นทำให้แผ่นดินสั่นสะเทือนและส่งเสียงกึกก้องดังไปไกลกว่า 850 กิโลเมตร
การระเบิดในครั้งนั้นทำให้เกิดเศษธุลีและผงฝุ่นมหาศาลแผ่ปกคลุมโลกจนกระทั่งโลกในปีนั้นไม่มีฤดูร้อน
หลังจากอีกกว่า 150 ปีต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าการระเบิดของแทมโบล่าเป็นการระเบิดของภูเขาไฟที่รุนแรงที่สุดในรอบหมื่นปี
แม้แต่การระเบิดของภูเขาไฟ วิสุเวียส (visuvius)ที่เกิดเป็นลาวาไหลท่วมทับคนทั้งเป็น
ในอิตาลี หรือแม้กระทั่งการระเบิดของภูเขาไฟบนเกาะการากา (krakatoa) ประเทศอินโดนีเซียในปี 1883 ที่ทำให้เกิดเสียงกึกก้องดังไปถึง
4,828 กิโลเมตร( 3 พันไมล์)
เกิดคลื่นสึนามิสูงประมาณ 100 ฟุต และทำให้ประชากรเสียชีวิตมากกว่า
3.5 หมื่นก็ยังไม่สามารถนำไปเทียบเคียงกับความรุนแรงของการระเบิดของภูเขาไฟแทมโบล่า
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการระเบิดของภูเขาไฟแทมโบล่ามีความรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิดปรมาณูที่อเมริกาทิ้งใส่เมืองฮิโรชิมา
ประเทศญี่ปุ่น ในคราวสงครามโลกครั้งที่สองถึง 60,000 ลูกเมื่อมีการระเบิดพร้อมกัน
นั้นคือความน่าสะพรึงกลัวของภัยภูเขาไฟระเบิด
ภูเขาไฟระเบิด
ภูเขาเกิดจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเปลือกโลก
ซึ่งแผ่นธรณีทวีปดันกันทำให้ชั้นหินคดโค้ง (Fold) เป็นรูปประทุนคว่ำและประทุนหงายสลับกัน
ภูเขาที่มียอดแบนราบอาจเกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกตามบริเวณรอยเลื่อน (Fault)
แต่ภูเขาไฟ (Volcano) มีกำเนิดแตกต่างจากภูเขาทั่วไป
ภูเขาไฟเกิดจากการยกตัวของแมกมาใต้เปลือกโลก
ภาพที่ 1 โครงสร้างของภูเขาไฟ
แมกมา
เมื่อแผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนที่เข้าหากัน
หรือปะทะกับแผ่นธรณีทวีป
แผ่นธรณีมหาสมุทรซึ่งมีความหนาแน่นกว่าจะจมลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค
และหลอมละลายกลายเป็นหินหนืดหรือแมกมา (Magma) โดยมีปัจจัยที่เร่งให้เกิดการหลอมละลาย
ได้แก่
แหล่งกำเนิดของแมกมา
แมกมาไม่ได้กำเนิดขึ้นทั่วไปทุกหนแห่งของโลก
หากมีอยู่แต่บริเวณที่รอยต่อของแผ่นธรณีบางชนิด และบริเวณจุดร้อนของโลก
ภาพที่ 2 แหล่งกำเนิดแมกมาบริเวณสันเขาใต้มหาสมุทร
ภาพที่ 3 แหล่งกำเนิดแมกมาในเขตมุดตัว
ภาพที่ 4 แหล่งกำเนิดแมกมาบนจุดร้อน
แหล่งกำเนิดของแมกมา
ภูเขาไฟมีรูปร่างสัณฐานต่างๆ กัน
เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาซึ่งมีแหล่งกำเนิดแตกต่างกัน
และมีองค์ประกอบของแร่แตกต่างกัน เราจำแนกชนิดของภูเขาไฟตามลักษณะทางกายภาพได้ 4
ประเภท ดังนี้
ภาพที่ 5 ที่ราบสูงลาวา (เกาะสกาย)
ภาพที่ 7 กรวยกรวดภูเขาไฟ
การประทุของภูเขาไฟ
ภูเขาไฟไม่มีคาบการระเบิดที่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแรงดันภายใน
คุณสมบัติและปริมาณหินที่กดทับโพรงแมกมา
อย่างไรก็ตามนักธรณีวิทยาสามารถทำการพยากรณ์อย่างคร่าวๆ โดยการวิเคราะห์ความถี่ของคลื่นไหวสะเทือน
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว ความเป็นกรดของน้ำใต้ดินซึ่งเกิดจากแมกมาอุณหภูมิสูงทำให้แร่ธาตุละลายตัว
และความผิดปกติของพฤติกรรมสัตว์
ภาพที่ 9 การปะทุของภูเขาไฟ
การปะทุของภูเขาไฟที่รุนแรงเกิดขึ้น เมื่อแมกมาบะซอยกตัวขึ้นลอยตัวขึ้นจากชั้นฐานธรณีภาค
จะทำให้แผ่นเปลือกโลกธรณีซึ่งเป็นหินแกรนิตหลอมละลายกลายเป็นแมกมาแกรนิต
แล้วดันพื้นผิวโลกให้โก่งตัวขึ้น (ภาพที่ 9 ก)
แรงอัดของแก๊สร้อนดันให้ปากปล่องภูเขาไฟระเบิด พ่นฝุ่นเถ้าภูเขาไฟ (Pyroclastic
flow) ซึ่งมีคามร้อนถึง 900 องศาเซลเซียสขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
(ภาพที่ 9 ข) แล้วตกลงมาทับถมกันที่บริเวณเนินภูเขาไฟ
(ภาพที่ 9 ค)
ทั้งลาวาที่ไหลออกมาและเศษวัสดุที่ตกลงมาทับถมกัน
ทำให้บริเวณรอบปากปล่องภูเขามีน้ำหนักมาก
จึงทรุดตัวกลายเป็นแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด (Caldera) เมื่อเวลาผ่านไปน้ำฝนตกลงมาสะสมกัน
ทำให้เกิดเป็นทะเลสาบ (ภาพที่ 9 ง)
ประโยชน์และโทษของภูเขาไฟ
ภูเขาไฟระเบิดใกล้ชุมชนทำให้เกิดมหันตภัยครั้งยิ่งใหญ่
แผ่นดินไหวทำให้อาคารพังพินาศ ถนนขาด และไฟไหม้เนื่องจากท่อแก๊สถูกทำลาย
ธารลาวา กรวดและเถ้าภูเขาไฟที่ไหลลงมา (Pyroclastic flow) สามารถทับถมหมู่บ้านและเมืองที่อยู่รอบข้าง
ถ้าภูเขาไฟอยู่ชายทะเล
แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวจะทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดยักษ์กระจายตัวออกไปได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร
ฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟสามารถปลิวไปตามกระแสลมเป็นอุปสรรคต่อการจราจรทางอากาศ
แต่อย่างไรก็ตามภูเขาไฟระเบิดหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรธรณีแปรสัณฐาน
ซึ่งหมุนเวียนธาตุอาหารให้แก่ผิวโลก ดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินภูเขาไฟ
มีความอุดมสมบูรณ์สูงใช้ปลูกพืชพรรณได้งอกงาม
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งปล่อยออกมาจากปล่องภูเขาไฟ
ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์ธาตุอาหารด้วยแสง
แมกมาใต้เปลือกนำแร่ธาตุและอัญมณีที่หายาก เช่น เพชร พลอย ขึ้นมา เป็นต้น
และด้วยเหตุที่ภูเขาไฟนำมาซึ่งความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์
ดังนั้นชุมชนจึงมักตั้งอยู่ที่เชิงภูเขาไฟ
สาเหตุการเกิดภูเขาไฟ และประเภทของภูเขาไฟเนื่องจากเปลือกโลกชั้นนอกของโลกเรามีพื้นที่ไม่เรียบเสมอกัน เปลือกโลกชั้นในมีลักษณะเป็นหินเมื่อได้รับความร้อนที่แผ่ออกมาจากแก่นโลกทำ ให้กลายเป็นหินเหลวหนืดที่เรียกว่าแมกมา(หินหนืดที่อยู่ภายใต้แผ่นเปลือกโลก จะถูกเรียกว่าแมกมาเมื่อมีการดันตัวมาสู่ชั้นบรรยากาศของโลกจะถูกเรียกว่า ลาวา) และเมื่อได้รับความร้อนจากแก่นโลกมากเข้าก็จะไหลวนเวียนเฉกเช่นเดียวกับน้ำ ในกาต้มน้ำร้อนที่วิ่งไปรอบกาน้ำพร้อมกับส่งควันพวยพุ่งออกมาตามช่องระบาย ภูเขาไฟก็เช่นกันและในที่สุดก็พุ่งทะลักออกมาตามรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก
ภาพการเกิดภูเขาไฟระเบิดตามแนว subduction zone
ส่วนอีก 5 เปอร์เซ็นต์ของการเกิดเป็นภูเขาไฟระเบิดจะไม่ เกิดตามแนวรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกแต่จะเกิดในพื้นที่ช่วงกลางแผ่นเปลือกโลก ปรากฏการณ์เช่นนี้ จะเกิดโดยมีการสะสมของแมกมาจำนวนมากใต้แผ่นเปลือกโลกเมื่อมีจำนวนแมกมาจำนวน มากก็จะเกิดแรงดันจำนวนมหาศาลทำให้แมกมาไหลท่วมออกมาจนสามารถทำให้แผ่น เปลือกโลกขยับได้ นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า mantle plume หรือ hot อย่างเช่นการเกิดภูเขาไฟในหมู่เกาะฮาวาย ผลกระทบจากการระเบิดของภูเขาไฟ
1. แรงสั่นสะเทือน มีทั้งการเกิดแผ่นดินไหวเตือน แผ่นดินไหวจริง
และแผ่นดินไหวติดตาม
ถ้าประชาชนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเชินภูเขาไฟอาจหนีไม่ทันเกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
2.
การเคลื่อนที่ของลาวา
อาจไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟเคลื่อนที่รวดเร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
มนุษยและสัตว์อาจหนีภัยไม่ทันเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
3. เกิดฝุ่นภูเขาไฟ เถ้า มูล บอมบ์ภูเขาไฟ ระเบิดขึ้นสู่บรรยากาศ ครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟ และลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟระเบิดหลายพันกิโลเมตร ภูเขาไฟพินาตูโบระเบิดที่เกาะลูซอนประเทศฟิลิปปินส์ภูเขาไฟระเบิดฝุ่นภูเขาไฟยังมาตกทางจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เช่น จังหวัดสงขลา นราธิวาส และปัตตานี เกิดมลภาวะทางอากาศและแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของประชาชน รวมทั้งฝุ่นได้ขึ้นไปถึงบรรยากาศขั้นสตราโตสเฟียร์ ใช้เวลานานหลายปี ฝุ่นเหล่านั้นตึงจะตกลงบนพื้นโลกจนหมด 4. เกิดคลื่นซึนามิ ขณะเกิดภูเขาไประเบิด โดยเฉพาะภูเขาไฟใต้ท้องมหาสมุทร คลื่นนี้จะโถมเข้าหาฝั่งสูงขนาดตึก 3 ชั้นขึ้นไป กวาดทุกสิ่งทั้งผู้คนและสิ่งก่อสร้างลงสู่ทะเล เป็นที่น่าหวาดกลัวยิ่งนัก 5. หลังจากภูเขาไฟระเบิด มีฝุ่นเถ้าภูเขาไฟตกทับถมอยู่ใกล้ภูเขาไฟ เมื่อฝนตกหนัก อาจจะเกิดน้ำท่วมและโคลนถล่มตามมาจากฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟเหล่านั้ |
การจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง
1. กรวยภูเขาไฟสลับชั้น
กรวยภูเขาไฟสลับชั้น(Composit Cone Volcano) เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา
และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน
และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกระทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น
ภูเขาไฟฟูจิ (ญี่ปุ่น), ภูเขาไฟมายอน
(ฟิลิปปินส์) และ ภูเขาไฟเซนต์เฮ
2. ภูเขาไฟรูปโล่
ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่
โดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้เกิดจาก ลาวาชนิดบาซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ
ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น
ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ เช่น ภูเขาไฟ
3.กรวยกรวดภูเขาไฟ
กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone) ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมาก และเกิดจากลาวาที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูง การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมาจากปล่องและทับถมกันบริเวณรอบปล่อง ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้ไม่ค่อยก่อให้เกิดควาสูญเสียชีวิต
ข้อควรปฏิบัติในการรับมือภูเขาไฟปะทุ
ข้อควรปฏิบัติในการรับมือภูเขาไฟปะทุ
1.
ก่อนเกิดเหตุ ควรสร้างช่องทางติดต่อสื่อสารฉุกเฉิน
ตกลงกันในครอบครัวว่าจะติดต่อกันอย่างไรด้วยวิธีไหน
ถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะไปเจอกันที่ไหน ติดตามข่าวสารจากทางราชการและเมื่อทางการสั่งอพยพให้อพยพออกจากพื้นที่ทันทีอาจไปรวมตัวกันที่สถานที่หลบภัยทันที
2.
ไม่ควรหลบอยู่ในอาคารสิ่งก่อสร้างเพราะอาจถล่มลงมาจากแผ่นดินไหวหรือเถ้าภูเขาไฟได้
3.
เตรียมอุปกรณ์ยังชีพให้พร้อม
·
ไฟฉาย และ ถ่านที่ใช้งานได้
·
ยาสามัญประจำบ้าน และ ต้องรู้วิธีใช้
·
น้ำ อาหารแห้ง หรืออาหารที่สามารถใช้กินได้ยามฉุกเฉิน
·
หน้ากากกันฝุ่นหรือหน้ากากอนามัยและแว่นตาเพื่อป้องกันเถ้าของภูเขาไฟ
·
เสื้อแขนยาว และ กางเกงขายาว
·
วิทยุที่ฟัง AM-FM ได้
Casino-Ville - Mapyro
ตอบลบCasino Ville, Leicestershire, United 충주 출장마사지 Kingdom, United Kingdom. 순천 출장마사지 Casino Ville. Address, 5962, Leicestershire, United Kingdom 하남 출장마사지 02230 시흥 출장안마 - Mapyro 밀양 출장안마